เพลง

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  อำเภอเมือง


    
กล่าวกันเสมอมาว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นสถานที่หนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ในช่วงวันหยุดจะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร และยิ่งเป็นวันหยุดยาว จะเป็นที่ที่คนนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดสุพรรณ
   ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่านเลย... แวะชมความงดงามขอหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล








ประวัติวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

   เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ 
   ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย  
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย



   วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัด คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเรียกกันว่า “ หลวงพ่อโตวัดป่าไลไลยก์” 

   ตามหลักฐานเดิมสันนิษฐานกันว่า มีอายุในราวสมัยอู่ทอง เนื่องด้วยขณะนั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาค้นคว้า จึงเชื่อกันอย่างนั้นเรื่อยมา เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าในระยะหลังๆ ทำให้ทราบได้ว่า วัดป่าเลไลยก์น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 1000 ปีขึ้นไป โดยมีหลักฐานต่างๆ จากโบราณวัตถุเป็นข้อสนับสนุน อ้างอิง เพียงพอที่จะตั้งเป็นสมมติฐานใหม่ขึ้นได้

   หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ถึงศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรว่า “พระพุทธรูปป่าเลไลยก์ เป็นของเก่าก่อนวัตถุอื่น ลักษณะทันสมัยอู่ทอง และสร้างเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักรเหมือนอย่างพระประทานที่พระปฐมเจดีย์ มีกุฏิครอบเฉพาะองค์พระ มาร้างวิหารต่อชั้นหลัง ส่วนองค์พระนั้นเคยชำรุดถึงพระกรหักหาย คนชั้นหลังปฏิสังขรณ์ เมื่อมีความรู้เรื่องพระแสดงปฐมเทศนาสูญเสียแล้วจึงทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ความกล่าวในข้อนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยพระกรเล็กกว่ากันเกือบข้างหนึ่ง และซุ้มเดิมที่สร้างวิหารก็ยังปรากฏอยู่ “

   ตามที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระวินิจฉัยว่า หลวงวัดป่าเลไลยก์ มีอายุทันสมัยอู่ทองนั้นมีความจริงอยู่บ้าง โดยความเป็นจริงแล้วอาจจะสูงกว่าสมัยอู่ทองขึ้นถึงสมันลพบุรีและทวารวดีเสียด้วยซ้ำไป เมื่อ พ.ศ. 1706 พระเจ้ากระแต ผู้ซึ่งมีเชื้อสายนเรศวรหงสาววดีพาไพรพลมาครองราชย์ที่เมืองพันธุมบุรี ได้ให้มอญน้อยเป็นเชื้อสายพระวงศ์ของพระองค์ ไปสร้างวัดสนามไชยแล้วมาบูรณะ วัดป่าเลไลยก์ในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรี เมื่อข้าราชการบูรณะวัดแล้วพากันออกบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองสองพันบุรี” พระเจ้ากาแตอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี สวรรคต พ.ศ.1741 ซึ่งในช่วงนี้อยู่ในสมัยลพบุรี

   โดยพุทธลักษณะของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์แล้ว พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทองกลาย ๆ เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ความเป็นจริงแล้วพระหนุเป็นเหลี่ยม นี่ส่อเค้าให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลถ่ายทอดมาจากศิลปะทวารวดี

   หลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ได้รับการบูรณะถึง 3 ครั้ง ครั้งแรก เมือ พ.ศ.1706 โดยมอญน้อย ครั้งที่ 2 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์ อมรินทร์ ในราชกาลที่ 3 กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้พระยาสีหราชเดโชไชย ไปสร้างวิหารวัดป่าเลไลยก์ ครั้งที่ 3 ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขรณ์

   การบูรณปฏิสังขรณ์ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น อันสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังไม่ได้ครองราชย์ พระองค์ทรงผนวชเสด็จธุดงค์มาจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ ทรงพบเห็นวัดป่าเลไลยก์รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และปกครองวัด จึงทำให้สภาพของวัดป่าเลไลยก์เสื่อมโทรมมาก เมื่อเข้านมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อไดก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วงของการครองราชย์ โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์ สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำฝาผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ด้วย สร้างพระพุทธรูปไว้อีก 2 องค์ อยู่ในวิหารเบื้องหน้าหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้ายและขวา ประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมาย






ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watpasuphan.com เเละเจ้าของภาาพที่ข้าพเจ้านำมาใช่้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น